top of page
109da6_b71c496f7d58485590d06150d8197d02~mv2.jpg

Give a Brighter Smile for
Cleft Children

  • Facebook
  • YouTube
โครงการผ่าตัดและฟื้นฟูสภาพเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ภาคเหนือ
 

   

 มูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ ได้จัดทำโครงการแต่งเติมรอยยิ้มสดใสให้น้อง โดยเริ่มโครงการฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดเชียงใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้ขยายการดำเนินงานร่วมกับวาย.เอ็ม.ซี.เอ.เชียงราย และโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค โดยได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่ง จากหน่วยงานพัฒนาเอกชนนานาชาติ Transforming Faces WorldWide (TFW) ประเทศแคนาดา ปัจจุบันมีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เข้ารับการรักษาผ่าตัดและฟื้นฟูสภาพ      (ด้านหู คอ จมูก / ทันตกรรม / การแก้ไขการพูด) จำนวน 559 ราย จากพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ ( เชียงราย / เชียงใหม่ / พะเยา / แม่ฮ่องสอน / น่าน ) ร่วมถึงพื้นที่ชายแดนไทย – ลาว (แขวงบ่อแก้ว) และไทย – พม่า (เมืองท่าขี้เหล็ก) ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก (ตั้งแต่ 8,500 บาท - 25,000 บาทต่อราย)          ผู้ป่วยฯ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลจากสถานพยาบาลฯ หลาย ๆ พื้นที่การเดินทางติดต่อไม่สะดวกในช่วงฤดูฝน

      โครงการฯ มุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ตั้งแต่อายุแรกเกิด เพื่อแก้ไขความพิการบนใบหน้าและซ่อมสร้างริมฝีปาก เพดานปาก จมูก กระดูกกรามบน  ให้เข้ารูปเป็นปกติ รวมถึงการพัฒนาสุขภาวะของผู้ป่วยฯ ให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขและ โครงการฯ ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่ครอบครัวของผู้ป่วย ฯ ตลอดถึงสาธารณะชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมมือกันช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วย พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนจากบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายผ่าตัด – ฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วย ฯ ที่รอการรักษาอยู่อย่างต่อเนื่อง

การดำเนินงานโครงการ

 

      ในกระบวนการรักษาผ่าตัด - ฟื้นฟูสภาพ ฯ ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ต้องอาศัยทีมสหวิชาชีพหลายสาขา คือ กุมารแพทย์ / นักโภชนาการ / ศัลยแพทย์พลาสติก / ทันตแพทย์ / แพทย์ด้านโสต ศอ นาสิก / นักกิจกรรมบำบัด - นักแก้ไขการพูด / นักสังคมสงเคราะห์ - นักพัฒนาชุมชน / ฯลฯ โดยมีขั้นตอนตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ ค้นหาผู้ป่วย ฯ ผ่านกลุ่ม ฯ องค์กรต่าง ๆ เมื่อได้รับการติดต่อจากผู้ป่วย ฯ (ผู้ปกครอง / ญาติ / ผู้แนะนำ) ก็จะทำประวัติข้อมูลผู้ป่วย ฯ และนัดหมายผู้ป่วย ฯ เข้ารับการตรวจ - ประเมินสุขภาพเบื้องต้น ก่อนที่จะนัดหมายให้เข้ารับการผ่าตัดและฟื้นฟูสภาพ ฯ ตามลำดับ หากผู้ป่วย ฯ ที่ได้รับการตรวจประเมินฯ เบื้องต้น มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัดและฟื้นฟูสภาพ ฯ เช่น มีภาวะทุพโภชนาการ มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนอื่น โครงการ ฯ ก็จะช่วยเหลือพัฒนาสุขภาวะให้แข็งแรง พร้อมที่จะเข้ารับการรักษาผ่าตัด - ฟื้นฟูสภาพได้ในระยะต่อไป สำหรับผู้ป่วยฯ ที่ได้รับการผ่าตัดไปแล้ว ทีมงานโครงการ ฯ จะออกติดตามเยี่ยมเยียน เพื่อประเมินผลและให้คำแนะนำ ให้การสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการรักษาฟื้นฟูสภาพ ฯ

     

    การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยฯ ที่ทำได้อย่างถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม (ผู้ป่วยฯ มีอายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 1 ขวบครึ่ง ก่อนที่เด็กจะหัดพูด) จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฯ หายเป็นปกติได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่สำคัญที่สุดของการรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยฯ คือความร่วมมือจากผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัว - โรงเรียน - ชุมชน ในการให้ความเอาใจใส่ดูแล ช่วยจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะและสุขภาวะทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ก็จะทำให้ผู้ป่วย ฯ ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และไม่รู้สึกแปลกแยก การช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานที่เป็นทีม รวมทั้งต้องได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลาย ๆ ฝ่าย จึงจะสามารถแต่งเติมชีวิตที่สมบูรณ์ให้กับผู้ป่วย ฯ ได้อย่างบังเกิดผล

bottom of page